เมนู

เธอผู้เป็นบัณฑิตย่อมกำหนดรู้เวทนา ได้ทุกอย่าง
ภิกษุนั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
ตั้งอยู่ในธรรม เรียนจบพระเวทในปัจจุบัน เพราะ
กายแตกย่อมไม่เข้าถึงซึ่งบัญญัติ.

จบ ปฐมวาตสูตรที่ 2

อรรถกถาปฐมวาตสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวาตสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้
บทว่า ปุถู วายนฺติ มาลุตา ได้แก่ ลมเป็นอันมาก ย่อมพัดไป
คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. เว้นคาถาทั้งหลายเสียตรัสตามอัธยาศัย
ของพวกบุคคลผู้รู้อยู่.
จบ อรรถกถาปฐมวาตสูตรที่ 2

3. ทุติยวาตสูตร



ว่าด้วยเวทนา 3 เปรียบด้วยลมต่างชนิด



[397] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลมต่างชนิด พัดไป
ในอากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ฯลฯ ลมแรงบ้าง ฉันใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล
คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง.
จบ ทุติยวาตสูตรที่ 3

อรรถกถาทุติยวาตสูตรที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยวาตสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้.
เว้นคาถาทั้งหลายเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตามอัธยาศัยของ
บุคคลผู้รู้อยู่.
จบ อรรถกถาทุติยวาตสูตรที่ 3

4. นิวาสสูตร



ว่าด้วยเวทนา 3 เปรียบด้วยเรือนพักคนเดินทาง



[398 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนพักคนเดินทาง
ชนทั้งหลายมาจากทิศตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศ
เหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นพราหมณ์บ้าง เป็น
พ่อค้าบ้าง เป็นคนงานบ้าง มาพักในเรือนนั้น ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือ สุขเวทนา
บ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง สุขเวทนามีอามิสบ้าง
ทุกขเวทนามีอามิสบ้าง อทุกขมสุขเวทนามีอามิสบ้าง สุขเวทนาไม่มีอามิส
บ้าง ทุกขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง.
จบ นิวาสสูตรที่ 4